วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
           องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร  จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
             2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

              3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น  เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
              4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
              5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
              6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ    แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด  ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ  เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร  ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)  กรองสัญญาณแต่ต้นทาง  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  เป็นต้น
 รูปภาพองค์ประกอบ

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

คณะผู้จัดทำ

    กิตติภพ สิทธิ                         เลขที่ 5
    นับพัน วงศ์ชัยสุริยะ                 เลขที่ 15
    กนกพร เริงเสรีย์                     เลขที่ 35
    ณัฐวดี ธินตุ่น                        เลขที่ 45
    วรัทยา ตาดี                          เลขที่ 55
      โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม
         ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1

รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมู
1.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One – way หรือ Simplex) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
เช่น
การถ่ายภาพทางโทรทัศน์

2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูดเพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
เช่น
วิทยุสื่อสาร

3.แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูดโทรศัพท์
เช่น

การพูดโทรศัพท์

4.แบบสะท้อนสัญญาณหรือ เอ๊กโคเพล๊กซ์ (Echo-Plex) เป็นการส่งสัญญาณที่รวมทั้ง Half-Duplex และ Full-Duplex ไว้รวมกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคีย์บอร์ด และจอภาพของเครื่อง Terminal ของ Main Frame หรือ Host คอมพิวเตอร์ ในระหว่างการคีย์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดเพื่อให้ Host คอมพิวเตอร์รับข้อความหรือทำตามคำสั่งข้อความหรือคำสั่งจะปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ของ เครื่อง Terminal ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง Host ซึ่ง เป็นแบบ Full-Duplex จะสะท้อนกลับมาปรากฏที่จอภาพเครื่อง Terminal ด้วย

นิยามของการส่งข้อมูลและลักษณะการทำงาน

               การส่ง-รับข้อมูลเพื่อโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ จะสำเร็จขึ้นได้ต้อง ประกอบด้วยปัจจัย สำคัญ 2 ประการคือ
                   -
คุณภาพของสัญญาณข้อมูลที่ส่ง-รับกัน
                   -
คุณลักษณะของสายสื่อสารสำหรับส่งผ่านข้อมูล อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะศึกษาถึงเทคนิคการส่ง-รับข้อมูลทั้งที่เป็นสัญญาณ อนาล็อก และดิจิตอล เราจะมาทำ ความรู้จักกับ ความรู้พื้นฐานรวมทั้งศัพท์ และรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง-รับ ข้อมูลกันเสียก่อน ความหมายของการส่งสัญญาณ (Transmission Definitions)
          

              การส่งสัญญาณ หมายถึง การที่สายสัญญาณในการสื่อสารจะเป็นตัวกลางที่ จะนำเอาข้อมูลหรือ ข่าวสารจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งในระบบการสื่อสาร ข้อมูล สายส่ง สัญญาณจะอยู่ในรูปของ เครือข่ายโทรศัพท์ หรือว่า สายโทร - ศัพท์นั่นเองเมื่อเกิดการส่งข้อมูลไปตามสายนี้ บางครั้งก็เลยเรียกว่า สายข้อมูล (Data Line) แต่ในบางครั้งก็อาจจะเรียกว่า สายเชื่อมโยงในการส่งข้อมูล (Data Link)

บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

      บทบาทของการติดต่อสื่อสารข้อมูล
           การติดต่อสื่อสารข้อมูล มีรากฐานมาจากการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์จึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด  ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
        ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2515 คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการ
         ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไป การสื่อสารจึงกลายเป็น ระบบเครือข่ายแบบกระจาย กล่าวคือ เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แทน วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) ซึ่งเป็นระบบที่บุคคลน้อยที่สุด 
              

ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสารข้อมูล

          
                                          ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร  
2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์  วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และแก้ไข
3.  ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง 
4.  ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น




การสื่อสารข้อมูล(Data Communications)

นิยามของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ